หน่วยการเรียยนรู้บทที่3

การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9


ระดับชั้น : ป.1




หน้า1หน้า2หน้า3หน้า5


ก่อนอื่นน้องๆ มาทำความรู้จักกับการบวกแนวตั้ง และการบวกแนวนอนกันก่อนนะครับ...

การบวกตามแนวนอน คือ การบวกที่ตัวตั้ง ตัวบวก ผลบวก ตลอดจนเครื่องหมาย + และเครื่องหมาย = เขียนเรียงในบรรทัดเดียวกันตามแนวนอน เช่น

เมื่อกำหนดประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกของจำนวนสองจำนวน ที่ผลบวกไม่เกิน 9 ให้ สามารถหาผลบวกตามแนวนอนได้ ดังนี้



การบวกตามแนวตั้ง คือ การบวกที่นำตัวตั้ง ตัวบวก และผลบวกมาเขียนในแนวดิ่ง โดยหลักเดียวกันอยู่ตรงกัน พร้อมทั้งมีเครื่องหมาย + กำกับ และเส้นกั้น เช่น

เมื่อกำหนดประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกของจำนวนสองจำนวน ที่ผลบวกไม่เกิน 9 ให้ สามารถหาผลบวกตามแนวตั้งได้ ดังนี้


น้องๆ ลองเปรียบเทียบการบวกตามแนวนอน และการบวกตามแนวตั้งดูนะครับ...



การสลับที่การบวก คือ จำนวนสองจำนวนที่นำมาบวกกันอาจสลับที่กันได้ โดยที่ผลบวกยังคงเดิม เช่น


น้องๆ ลองหาคำตอบจากโจทย์ต่อไปนี้นะครับ...







การบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ตอน 1






หน้า1หน้า2หน้า3หน้า4




โจทย์ปัญหาการบวก คือ โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เป็นข้อความและตัวเลข ซึ่งต้องใช้วิธีการบวกในการแก้ปัญหา โดยต้องวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่โจทย์กำหนดให้ แล้วคิดหาวิธีแก้ พร้อมคิดคำนวณหาคำตอบ




เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ให้ น้องๆ ต้องวิเคราะห์โจทย์และหาคำตอบ

โจทย์ปัญหาการบวก เช่น


จากโจทย์ น้องๆ สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ ดังนี้

  • โจทย์กล่าวถึงอะไร (วัวของพ่อ)

  • โจทย์ถามหรือต้องการให้หาอะไร (รวมมีวัวกี่ตัว)

  • นักเรียนรู้อะไรจากโจทย์บ้าง (พ่อมีวัว 2 ตัว และวัวออกลูกมาอีก 1)

  • พ่อมีวัวมากขึ้นหรือน้อยลง (มากขึ้น)

  • น้องๆ จะหาคำตอบโดยวิธีใด (วิธีการบวก)

  • จะได้คำตอบเป็นเท่าไร (3 ตัว)
จากโจทย์เดิม ถ้าน้องๆ ยังไม่เข้าใจ ลองดูภาพต่อไปนี้นะครับ...




สามารถสรุปเป็นภาพได้ ดังนี้




โจทย์ปัญหาการบวก คือ โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เป็นข้อความและตัวเลข ซึ่งต้องใช้วิธีการบวกในการแก้ปัญหา โดยต้องวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่โจทย์กำหนดให้ แล้วคิดหาวิธีแก้ พร้อมคิดคำนวณหาคำตอบ

การแสดงวิธีทำโจทย์ปัญหาการบวกมีวิธีการ ดังนี้
  1. เขียนประโยคสัญลักษณ์


  2. แสดงวิธีทำโดยเขียนคำอธิบายและหน่วยกำกับไว้ในแต่ละบรรทัด ดังนี้

    • บรรทัดที่ 1 เป็นตัวตั้ง (ระหว่างบรรทัดที่ 1 และ 2 ใส่เครื่องหมายบวก)


    • บรรทัดที่ 2 เป็นตัวบวก (ขีดเส้นใต้ 1 เส้น)


    • บรรทัดที่ 3 เป็นผลบวก (ขีดเส้นใต้ 2 เส้น)

  3. เขียนตอบโดยย้อนคำถาม เพื่อให้คำตอบชัดเจน และเขียนตามด้วยตัวเลขไทย
    ตัวอย่างเช่น

นัดดามีตุ๊กตาหมี 3 ตัว แม่ซื้อให้นัดดาอีก 1 ตัว รวมนัดดามีตุ๊กตาหมีกี่ตัว ?
ลองหาคำตอบจากโจทย์ต่อไปนี้...

มีหนังสือ 4 เล่ม ซื้อมาอีก 3 เล่ม รวมหนังสือกี่เล่ม ?

ลัดดาเลี้ยงปลา 5 ตัว เพื่อนให้มาอีก 4 ตัว รวมลัดดามีปลากี่ตัว ?



ต้อยมีส้ม 3 ลูก มีสตอเบอรี่ 3 ลูก ต้อยมีส้มและสตอเบอรี่รวมกันกี่ลูก ?


คณิตศาสตร์ ป.1 โจทย์ปัญหาการบวกลบไม่เกิน 9 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น